ติดนิสัยทำให้ติดบุหรี่

1429289753590.jpg

ทราบกันว่าการใช้แผ่นนิโคตินในการบรรเทาความรู้สึก อยากสูบบุหรี่ระหว่างการเลิกบุหรี่ยังไม่ใช่วิธีที่ได้ผลเสียทีเดียว ล่าสุดได้มีงานวิจัยชิ้นใหม่จากมหาวิทยาลัยเทลอาวิฟค้นพบเหตุผลที่แผ่น นิโคตินไม่สามารถช่วยผู้สูบบุหรี่ได้ ซึ่งอาจจะนำไปสู่หนทางในการเลิกบุหรี่ได้ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น

จากที่เคยเข้าใจกันว่าร่างกายของผู้สูบบุหรี่จะต้องการนิโคตินในระหว่างการ เลิกบุหรี่ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกอยากสูบบุหรี่นั้น กลับกลายเป็นว่าอาการอยากสูบบุหรี่เป็นผลที่เกิดจากทางจิตใจมากกว่าทางร่าง กาย และแม้ว่าผลการวิจัยจะไม่สอดคล้องกับทฤษฏีที่เคยกล่าวว่าร่างกายของผู้สูบ บุหรี่เกิดการเสพติดสารนิโคตินทำให้ต้องใช้แผ่นนิโคตินในการรักษาอาการอยาก สูบบุหรี่ แต่เชื่อว่าจะทำให้เกิดวิธีการที่มีประสิทธิผลมากขึ้นในการเลิกบุหรี่ นอกจากการใช้แผ่นแปะหรือหมากฝรั่งนิโคตินที่มีราคาแพง

การวิเคราะห์คำตอบจากแบบสอบถามที่ทำในกลุ่มลูกเรือชายหญิงซึ่งทำงานทั้งใน เที่ยวบินระยะสั้นประมาณ 3-5 ชั่วโมงและเที่ยวบินระยะยาวประมาณ 10-13 ชั่วโมงพบว่าระยะเวลาที่ต่างกันของเที่ยวบินไม่ส่งผลกระทบต่อระดับของความ อยากสูบบุหรี่ กล่าวคือ อาการอยากสูบบุหรี่ที่เกิดขึ้นในเที่ยวบินระยะสั้นมีความคล้ายคลึงกับที่ เกิดขึ้นในเที่ยวบินระยะยาว ทั้งนี้ อาการอยากสูบบุหรี่ที่เพิ่มขึ้นในช่วงท้ายของเที่ยวบินระยะสั้นและเที่ยวบิน ระยะยาวมีความรุนแรงในระดับเดียวกัน แสดงให้เห็นว่าผู้สูบบุหรี่อยากสูบบุหรี่มากขึ้นเพราะรู้ว่าเครื่องบินกำลัง จะลงจอดและตนเองจะสูบบุหรี่ ไม่เกี่ยวกับจำนวนรวมของชั่วโมงที่ไม่ได้สูบบุหรี่ในเที่ยวบินนั้น เห็นได้ว่าอาการอยากสูบบุหรี่เป็นผลทางจิตใจที่จดจำลำดับของสิ่งที่ตนเองทำ เป็นประจำได้ มากกว่าผลทางร่างกายที่ไม่ได้รับนิโคติน

 

1429289835759.gif

การทดสอบในกลุ่มชาวยิวที่ต้องงดสูบบุหรี่ในวันพิธีซับบาธให้ผลลัพธ์ที่สอด คล้องกัน โดยพบว่าระดับความรุนแรงของอาการอยากสูบบุหรี่เพิ่มขึ้นเมื่อพิธีซับบาธใกล้ จะสิ้นสุดลงเพราะผู้สูบบุหรี่รู้ว่าตนเองจะสูบบุหรี่หลังจากนั้น ความรู้สึกดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับระยะเวลารวมที่ร่างกายไม่ได้รับนิโคติน

แม้นิโคตินจะสามารถเพิ่มการรับรู้ทางร่างกาย เช่น ความสนใจ หรือ ความจำ แต่นิโคตินไม่ใช่สารเสพติดเช่นเดียวกับ เช่น เฮโรอิน คนเราสูบบุหรี่เพราะต้องการความพอใจบางอย่าง เช่น ความรู้สึกสบายใจในการกัดหรือคาบ การได้รับกลิ่นรสที่พึงใจ หรือความสนุกสนานในการเข้าสังคม เมื่อเกิดการติดเป็นนิสัย ผู้สูบบุหรี่จะสูบบุหรี่ตามลำดับเวลาหรือสถานการณ์ที่เชื่อมโยงกับการสูบ บุหรี่ การยอมรับว่าการสูบบุหรี่เป็นการติดนิสัย ไม่ใช่ติดสารเสพติด จะช่วยให้การรักษาเป็นไปได้ง่ายขึ้น เทคนิคในการช่วยเหลือผู้ต้องการเลิกบุหรี่ควรเน้นกิจกรรมทางด้านจิตใจและการ สร้างนิสัย มากกว่าทางด้านชีววิทยา 

ที่มา: ScienceDaily July 14, 2010 

หมวดหมู่บทความ
เรื่องล่าสุด
 
 
ศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ
อาคารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ชั้น 6-7 เลขที่ 21/12 ถนนรางน้ำ แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
โทรศัพท์ : 02-298-0144 โทรสาร : 02-298-0143
อีเมล : quitline1600@thailandquitline.or.th, quitline1600@hotmail.com web site: www.thailandquitline.or.th