Logo
 
Quitline
  • เลิกบุหรี่เชิญทางนี้
  • เกี่ยวกับเรา
    ความเป็นมา หลักการ วิสัยทัศน์ บริการ ติดต่อเรา งานวิจัย บทความ รายงานประจำปี กิจกรรมของเรา
  • บริการ
    U QUIT U REFER U CAN คู่มือเลิกบุหรี่
  • ข้อมูลข่าวสาร
    ข่าวจากผู้บริหาร รายงานประจำปี คู่มือเลิกบุหรี่ งานวิจัย บทความ การรณรงค์เลิกบุหรี่ จากใจให้คุณ ประกาศ

ผลลัพธ์ที่กลับกลายจากคลินิกเพื่อการเลิกสูบบุหรี่

2015-04-10 00:00:00
Tweet

 ดร.ไซมอน เชปแมน นักวิทยาศาสตร์ผู้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลกในกิจกรรมต่อต้านการสูบบุหรี่พบว่ากลยุทธ์ที่ประเทศอินเดียใช้ในการช่วยให้ประชาชนเลิกสูบบุหรี่กลับให้ผลลัพธ์ในทางตรงกันข้าม คลินิกเพื่อการเลิกสูบบุหรี่ที่ต้องใช้เงินจำนวนมากในการจัดตั้งไม่ได้มีส่วนช่วยให้ผู้คนเลิกสูบบุหรี่ได้ แท้จริงแล้วควรนำเงินจำนวนดังกล่าวไปใช้ในการรณรงค์เพื่อให้ความรู้กับประชาชนถึงผลร้ายของบุหรี่ที่มีต่อสุขภาพจะดีกว่า การวิจัยของ ดร.แชปแมนรายงานถึงความล้มเหลวของคลินิก ในการเลิกสูบบุหรี่ โดยระบุว่ามีผู้สูบบุหรี่เพียงร้อยละ 3 ที่โทรศัพท์มาขอรับการปรึกษากับสายด่วนเลิกบุหรี่หรือเข้าร่วมกิจกรรมของหน่วยงานเพื่อการเลิกสูบบุหรี่ ในขณะที่ผู้สูบบุหรี่อีกร้อยละ 97 สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้ด้วยตนเองหลังจากที่ได้รับรู้ผลร้ายของบุหรี่ที่มีต่อสุขภาพ

1429337242985.gif    การทำความเข้าใจและให้ความรู้กับสาธารณชนเป็นวิธีการที่ส่งผลให้คนเลิกสูบบุหรี่ได้ดีกว่า กิจกรรมที่จัดทำผ่านหน่วยงานเพื่อการเลิกสูบบุหรี่ซึ่งสามารถช่วยลดการสูบบุหรี่ได้ แต่ค่อนข้างใช้เวลานาน ทั้งนี้ คลินิกเพื่อการเลิกสูบบุหรี่เริ่มจัดตั้งขึ้นในประเทศอินเดียในปี ค.ศ. 2002 นับเป็นการดำเนินการในเรื่องนี้อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก คลีนิคจำนวน 13 แห่งนั้นให้การดูแลเกี่ยวกับ การรักษาเนื้องอก โรคหัวใจ จิตเวช การผ่าตัด และเริ่มมีการจัดตั้งองค์กร NGO ขึ้นด้วย หลังจากนั้น จำนวนคลินิกได้เพิ่มขึ้นเป็น 19 แห่ง ในรัฐ 17 รัฐ มีการพัฒนาการบำบัดรักษาให้กับผู้สูบบุหรี่และผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบไร้ควัน แผนงานห้าปีในการควบคุมการสูบบุหรี่แห่งชาติระบุให้จัดตั้งคลินิกเพิ่มขึ้นอีกใน 450 ตำบลทั่วประเทศ การศึกษาของดร แชปแมน เปิดเผยว่าการเลิกสูบบุหรี่ไม่ได้แตกต่างจากการเลิกสิ่งเสพติดประเภทอื่น อาทิ การดื่มสุรา การใช้สารเสพติด และการพนัน การวิจัยในกลุ่มประชาชนชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าผู้สูบบุหรี่ส่วนใหญ่เลิกสูบบุหรี่ได้โดยไม่ต้องการความช่วยเหลือในรูปแบบใดทั้งสิ้น งานวิจัยชิ้นอื่นที่ทำในประเทศสหรัฐอเมริกาล้วนแสดงผลลัพธ์ในทิศทางเดียวกัน ทุกวันนี้ การเลิกสูบบุหรี่ด้วยตนเองโดยไม่ขอรับความช่วยเหลือยังคงเป็นวิธีการที่ได้ผลมากกว่าการบำบัดโดยใช้สารนิโคตินทดแทน

     พลเมืองราว 250 ล้านคนในประเทศอินเดียเป็นผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบ อาทิ บุหรี่เคี้ยว หรือ Bidis ประชาชนร้อยละ 16 สูบบุหรี่ อีกร้อยละ 44 สูบ Bidis และกลุ่มที่เหลือใช้บุหรี่เคี้ยว ผู้สูบบุหรี่เพศชายมีจำนวนสูงกว่าเพศหญิงถึงสองเท่า การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งซึ่งมีผู้ป่วยสูงถึงร้อยละ 40 จากจำนวนผู้ป่วยทั้งหมดในประเทศ

     แม้การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการเลิกสูบบุหรี่ในประเทศอินเดียยังไม่ดีนัก แต่ผู้เชี่ยวชาญประเมินว่า ร้อยละ 90 ของผู้สูบบุหรี่ในประเทศอินเดียที่เลิกบุหรี่โดยได้รับความช่วยเหลือจากคลินิกได้กลับมาสูบอีกภายในปีแรก แต่หากสามารถเลิกสูบได้ด้วยตนเอง ระยะห่างของการเลิกสูบจะนานกว่า กิจกรรมของคลินิกเพื่อการเลิกสูบบุหรี่เสมือนเป็นการประกาศว่าผู้สูบบุหรี่เป็นผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ และไม่สามารถจะเลิกสูบได้ด้วยตนเอง ซึ่งบั่นทอนความมั่นใจของผู้สูบบุหรี่ในการเลิกสูบเป็นอย่างยิ่ง

ที่มา: The Time of India, 7 ตุลาคม 2553

หมวดหมู่บทความ
เรื่องล่าสุด
เริ่มต้นเลิกบุหรี่
 
เรื่องน่าสนใจ
โครงการประกวดภาพยนตร์โฆษณา “สายด่วนเลิกบุหรี่ 1600” จัดโดยสายงานกิจการนักศึกษา ร่วมกับศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ และคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
สธ. จัดรณรงค์ “วันงดสูบบุหรี่โลก” ปี 2560 ห่วงปัญหาเด็กและเยาวชนสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น หลังพบแต่ละปีกลุ่มนี้เริ่มสูบบุหรี่มากถึง 2.5 แสนคน
โครงการอบรมทางไกลครั้งที่4 "เลิกบุหรี่...แล้วดีอย่างไร"
ขอขอบคุณ คุณแวร์ โซว และน้องคนดี ที่มาช่วยประชาสัมพันธ์ ให้กับ 1600 สายด่วยเลิกบุหรี่
 
ศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ
อาคารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ชั้น 6-7 เลขที่ 21/12 ถนนรางน้ำ แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
โทรศัพท์ : 02-298-0144 โทรสาร : 02-298-0143
อีเมล : quitline1600@thailandquitline.or.th, quitline1600@hotmail.com web site: www.thailandquitline.or.th