ขั้นที่ 4 กำลังใจเป็นสิ่งสำคัญกำลังใจมีอยู่รอบตัว

กำลังใจจากคนใกล้ชิด ช่วยให้คุณเลิกบุหรี่ได้สำเร็จ
ขั้นที่ 4 กำลังใจเป็นสิ่งสำคัญ กำลังใจมีอยู่รอบตัว


การสูบบุหรี่ ทางการแพทย์นับเป็นโรคเรื้อรังอย่างหนึ่ง เรียกว่า โรคติดบุหรี่ ดังนั้น การเลิกบุหรี่จึงเป็นเรื่องที่ดีที่สุด ผู้สูบบุหรี่ทุกคนต้องทำให้สำเร็จเพื่อเป็นการเริ่มต้น ชีวิตสุขภาพดี

เมื่อการเลิกบุหรี่เป็นเรื่องดีของชีวิต ผู้ใกล้ชิดจึงต้องรู้ และร่วมในกระบวนการเลิก เพื่อผลดีทั้งกับคุณเอง ครอบครัว และสังคม

คนใกล้ชิด คือคู่ครอง ลูกหลาน ญาติสนิท เพื่อนรัก หรือเพื่อร่วมงานที่คุณไว้ใจให้เป็นกำลังใจ มีเวลาและสามารถช่วยเหลือคุณให้ผ่านพ้นทุกช่วง ในกระบวนการเลิกบุหรี่ ควรเลือกผู้ใกล้ชิดที่เข้าใจสถานการณ์การติดบุหรี่ของคุณเป็นอย่างดีสามารถช่วยเหลือ ประคับประคอง ให้สติ ให้ความคิด กระตุ้นเตือนให้คุณเผชิญกับความอยากบุหรี่ ควรเลือกผู้ใกล้ชิดที่เข้าใจสถานการณ์การติดบุหรี่ของคุณเป็นอย่างดี สามารถช่วยเหลือ ประคับประคอง ให้สติ ให้ความคิด กระตุ้นเตือนให้คุณเผชิญกับความอยากบุหรี่ หรือกับอาการถอนนิโคติน จนบรรลุเป้าหมายเลิกบุหรี่ได้ถาวร


1429349993989.jpgเริ่มต้น คุณจะประกาศเจตนา “เลิกบุหรี่” ให้ผู้ใกล้ชิดทราบ และขอให้เป็นกำลังใจด้วย

ขอให้คนใกล้ชิดเตรียมตัว และช่วยเหลือ ในเรื่องต่อไปนี้

- เป็นพยายานในความตั้งใจ และความพยายามที่จะเลิกบุหรี่ให้สำเร็จให้จงได้
- เป็นผู้ฟังที่ดี เมื่อคุณต้องการจะพูด หรือระบายความไม่สุขสบาย
- เป็นกำลังใจในทุกขั้นตอนของการเลิกบุหรี่ โดยไม่ตัดสินว่าคุณทำ ถูก-ผิด หรือ ดี-ไม่ดี
- เป็นเพื่อนสนทนา เพื่อนคิด และช่วยแก้ปัญหาที่คุณอาจเผชิญระหว่างขั้นตอนการเลิกบุหรี่
- โทรศัพท์ สอบถาม ให้กำลังใจและติดตามว่าคุณสบายดีหรือไม่ และต้องการความช่วยเหลืออะไรบ้าง
- สนับสนุน ช่วยเหลือตามที่คุณขอ และอดทนกับความหงุดหงิดซึ่งเป็นอาการอย่างหนึ่งของอาการถอนนิโคติน
- ช่วยเหลือจัดสิ่งแวดล้อม จัดการให้อยู่ในกลุ่มเพื่อนที่ไม่สูบบุหรี่ และสถานที่ปลอดควันบุหรี่
- ฯลฯ

คุณควรจะประกาศ/แจ้ง ให้คนรอบข้างทุกคนรู้ว่าคุณกำลังพยายามเลิกบุหรี่หรือไม่ ?
คุณกังวลว่า ถ้าผู้คนรอบข้างทุกคน/ส่วนใหญ่ทราบ อาจเกิดสถานการณ์ต่อไปนี้
- เกิดแรงกดดันกับคุณมากเกินไป
- คุณจะทำให้คนรอบข้างผิดหวัง ถ้าเลิกไม่ได้จริง
- คุณจะอับอาย ถ้าล้มเหลวในครั้งนี้

คุณลองพิจารณาว่า ถ้าคนรอบข้างทุกคน/ส่วนใหญ่ทราบว่าคุณกำลังทำอะไรสถานการณ์ ต่อไปนี้จะเกิดขึ้นได้มากน้อยเพียงใด

- คนรอบข้างไม่ขัดขวาง ไม่ชักชวนให้คุณเข้าใกล้สถานณ์ที่เป็นตัวกระตุ้นการสูบหรือความอยากบุหรี่ของคุณโดยไม่ตั้งใจ
- คนรอบข้างจะคาดหวังได้ว่าคุณอาจมีอาการถอนนิโคติน เช่นมีอารมณ์หงุดหงิดหรือเครียดในช่วงแรกของการเลิก
- เมื่อคุณเผชิญกับอาการถอนนิโคติน และ/หรืออยากบุหรี่ คนรอบข้างจะให้ความช่วยเหลือ เป็นกำลังใจให้คุณเลิกบุหรี่ให้ได้จริง


1429350030704.jpg

หมวดหมู่บทความ
เรื่องล่าสุด
 
 
ศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ
อาคารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ชั้น 6-7 เลขที่ 21/12 ถนนรางน้ำ แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
โทรศัพท์ : 02-298-0144 โทรสาร : 02-298-0143
อีเมล : quitline1600@thailandquitline.or.th, quitline1600@hotmail.com web site: www.thailandquitline.or.th