การลดอาการซึมเศร้าไม่ช่วยในการเลิกสูบบุหรี่

นิวยอร์ค (ศูนย์สุขภาพรอยเตอร์) – งานวิจัยชิ้นใหม่ระบุว่าตัวยาต้านอาการซึมเศร้าในรูปแบบของแผ่นปิดผิวหนังไม่ได้ช่วยในการเลิกสูบบุหรี่ได้ดีไปกว่าการใช้ยาหลอกหรือ Placebo 

ตัวยา Eldepryl หรือชื่อสามัญว่า Selegiline เป็นยาที่ใช้รักษาโรคพาร์คินสัน โรคซึมเศร้า และโรคความจำเสื่อม มีทั้งชนิดเม็ดและชนิดแผ่นปิดผิวหนัง ตามข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ที่กำลังเลิกสูบบุหรี่มักจะหงุดหงิดหรือกระสับกระส่ายเพราะความรู้สึกอยากนิโคตินนั้น ตัวยา Selegiline ทำให้รู้สึกดีขึ้นได้โดยช่วยรักษาระดับของ Dopamine ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองที่ลดลงเมื่อไม่ได้รับนิโคตินเข้าไปในร่างกาย 

งานวิจัยก่อนหน้านี้เกี่ยวกับผลของยา Selegiline ชนิดเม็ดชี้ให้เห็นว่า Selegiline ช่วยลดอาการอยากสูบบุหรี่ได้ในผู้ที่กำลังเลิกสูบบุหรี่ จึงมีการค้นคว้าต่อไปเกี่ยวกับ Selegiline ชนิดแผ่นปิดผิวหนังว่าจะช่วยลดอาการอยากสูบบุหรี่และช่วยในการเลิกสูบบุหรี่ได้เพียงใด กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้ใหญ่ที่สูบบุหรี่จำนวน 243 คนได้รับแผ่นปิดชนิดที่มี Selegiline และชนิดหลอกที่ไม่มีตัวยาใดโดยวิธีการสุ่ม และได้รับแจ้งให้เริ่มใช้แผ่นปิดในวันแรกของการเลิกสูบบุหรี่ โดยเปลี่ยนแผ่นใหม่ทุก 24 ชั่วโมงต่อไปอีกแปดสัปดาห์ ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างทุกคนได้พบกับเจ้าหน้าที่ของคลินิกอดบุหรี่ในชุมชนที่ได้รับการฝึกทักษะในการช่วยเหลือผู้สูบบุหรี่ให้เลิกสูบบุหรี่

เมื่อครบแปดสัปดาห์ 26% ของผู้สูบบุหรี่ในกลุ่มที่ใช้แผ่นปิด Selegiline เลิกสูบบุหรี่ได้แล้วอย่างน้อย 1 สัปดาห์ ตามการวัดค่าคาร์บอนมอนนอกไซด์จากลมหายใจ ในขณะที่ราว 30% ของกลุ่มที่ใช้แผ่นหลอก เลิกสูบบุหรี่ได้ในเวลาใกล้เคียงกัน เมื่อครบ 25 สัปดาห์ 17% ของกลุ่มที่ใช้แผ่นปิด Selegiline และ 19% ของกลุ่มที่ใช้แผ่นหลอกสามารถเลิกบุหรี่ได้ และเมื่อครบ 52 สัปดาห์ ประมาณ 20% ของทั้งสองกลุ่มสามารถเลิกสูบบุหรี่ได้

นอกจากนี้ยังพบว่าเพศของผู้สูบบุหรี่มีผลต่อความสำเร็จในการเลิกสูบ โดย 28% ของกลุ่มผู้หญิงเลิกสูบได้เมื่อครบ 52 สัปดาห์ เทียบกับ 16% ของกลุ่มผู้ชาย

1429337013822.jpgในด้านการทดสอบทางพฤติกรรม มีหลักฐานแสดงว่า คะแนนการทดสอบเกี่ยวกับการตอบรับทางพฤติกรรมของกลุ่มตัวอย่างสูง หมายถึงกลุ่มที่มีการตอบรับสูงต่อการกระตุ้นในลักษณะการให้รางวัล เป็นผู้ที่เลิกบุหรี่ได้จากการใช้แผ่นปิด Selegiline ซึ่งนับว่าสมเหตุสมผลเมื่อพิจารณาว่าสารเคมี Dopamine ในสมองเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกชื่นชอบต่อการได้รับรางวัล เนื่องจาก Selegiline ช่วยในการทำงานของ Dopamine ดังนั้นผู้สูบบุหรี่ที่มีความรู้สึกตอบสนองต่อการได้รางวัลซึ่งเชื่อมโยงกับ Dopamine อาจจะตอบสนองต่อ Selegilineได้ดีกว่า อย่างไรก็ตาม การใช้ทฤษฏีทางด้านพฤติกรรมควบคู่ไปกับการใช้แผ่นปิดดูจะเป็นการรักษาที่มีประสิทธิผลมากที่สุด เนื่องจากผู้สูบบุหรี่ในกลุ่มที่ใช้แผ่นหลอกทำได้ดีกว่าที่คาดไว้ เชื่อว่าการรักษาทางจิตวิทยามีส่วนอย่างมากต่อผลที่ได้รับ การช่วยให้ผู้สูบบุหรี่สามารถเลิกบุหรี่ได้จำเป็นต้องใช้การรักษาทั้งทางพฤติกรรมและทางยาร่วมกัน คณะผู้วิจัยหวังว่าจะสามารถเพิ่มหนทางที่จะช่วยให้ชาวอเมริกันจำนวน 46 ล้านคนที่ยังสูบบุหรี่อยู่สามารถเลิกบุหรี่ได้สำเร็จ

 ที่มา: link.reuters.com/mac49n Addiction, September 2010.

หมวดหมู่บทความ
เรื่องล่าสุด
 
 
ศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ
อาคารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ชั้น 6-7 เลขที่ 21/12 ถนนรางน้ำ แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
โทรศัพท์ : 02-298-0144 โทรสาร : 02-298-0143
อีเมล : quitline1600@thailandquitline.or.th, quitline1600@hotmail.com web site: www.thailandquitline.or.th